วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บัวหลวง


บัวหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nelumbo nucifera
ชื่อวงศ์:  NYMPHACACEAE
ชื่อสามัญ:  Lotus, Sacred lotus, Egyptian
ชื่อพื้นเมือง:  บุณฑริก ปุณฑริก  ปทุม ปัทมา โกกระณต สัตตบุษย์  บัวฉัตรขาว   สัตตบงกช   บัวฉัตรชมพู   โช้ค  บัวอุบล
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้โผล่เหนือน้ำ อายุหลายปี ลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้าใต้ดิน และเป็นไหลเหนือดิน ใต้น้ำ

ต้นบัวหลวง

    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับ  ใบรูปไข่ค่อนช้างกลม ขนาด 15-40 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวและมีนวลเคลือบ ก้านใบกลมเรียวแข็งส่งใบให้เจริญที่ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ มีหนามเป็นตุ่มเล็กๆ ภายในก้านใบมีน้ำยางใสเมื่อถูกอากาศเป็นสีคล้ำ

ใบบัวหลวง

    ดอก  สีชมพู ขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ก้านดอกสีเชียว อวบกลมส่งดอกชูขึ้นเหนือน้ำ  กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและกลีบดอกซ้อนกัน  มีเกสรตัวผู้จำนวนมากติดอยู่รอบฐานรองดอกที่บวมขยายใหญ่ หุ้มรังไข่ไว้ภายในเรียกว่า   "ฝักบัว"   ดอกบานเต็มที่กว้าง 20-25 เซนติเมตร บัวหลวงมีหลายพันธุ์มีชื่อเรียกต่างกันไปตามขนาดและลักษณะชองดอกคือ     
                    ดอกเล็กสีขาว เรียก บัวปักกิ่งขาว บัวหลวงจีนขาว บัวเข็มขาว
                    ดอกเล็กสีชมพู เรียก บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีนชมพู บัวเข็มชมพู
                    ดอกสีขาว เรียก บุณฑริก ปุณฑริก
                    ดอกสีชมพู เรียก ปทุม ปัทมา โกกระณต 
                    ดอกสั้นป้อมสีขาวกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบุษย์ บัวฉัตรขาว
                    ดอกสั้นป้อมสีชมพูกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบงกช บัวฉัตรสีชมพู
ดอกบัวหลวง

ดอกบัวรูปดอกบัวหลวงรูปภาพดอกบัวหลวง

    ฝัก/ผล  ผลแห้ง เเบบผลกลุ่มประกอบด้วยผลย่อยรูปกลมรีจำนวนมากอยู่ภายในฝักบัวรูปกรวย ในผลย่อยมีเมล็ดขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดล่อน
ฝักบัวหลวง

ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกประดับสระน้ำหรือปลูกในกระถางทรงสูง
การขยายพันธุ์:  ไหล หรือโดยการแยกกอ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ก้านใบและก้านดอก ทำกระดาษ และเส้นใยใช้ทำไส้ตะเกียง
    -    บูชาพระ
    -    เปลือกเมล็ดบัวแห้ง และฝักแก่ทำปุ๋ย
    -    เครื่องสำอาง
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
แหล่งที่พบ:  พบทั่วไปทุกภาค
ส่วนที่ใช้บริโภค:  เม็ดบัว รากบัว ไหลบัว สายบัว ใบอ่อน
การปรุงอาหาร:
    -    เม็ดบัว สามารถนำมากินได้ทั้งสดและแห้ง เม็ดบัวมีปริมาณสารอาหารที่สำคัญ คือ โปรตีน ประมาณ 23 % ซึ่งสูงกว่าข้าวถึง 3 เท่า และเป็นแหล่งรวมธาตุ อาหารหลายชนิดด้วยกัน เม็ดบัวนำมาประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น สังขยา เม็ดบัว ขนมหม้อแกงเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม สาคูเม็ดบัว เป็นต้น
    -    รากบัว นิยมนำมาเชื่อมแห้งกินเป็นของหวาน
    -    ไหลบัว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสด ทั้งแห้ง โดยมากจะนำมาแกงส้ม แกงเลียง ผัดเผ็ดต่าง ๆ
    -    สายบัว สามารถปรุงอาหารแทนผักได้หลายชนิด ทั้งแกงส้มสายบัว แกงสายบัวกับปลาทู ฯลฯ
    -    ใบอ่อน สามารถนำมากินเป็นผักสดแกล้มน้ำพริก
สรรพคุณทางยา:
    -    รากบัว นำไปต้มกับน้ำตาลกรวด แก้ร้อนใน ชาวอินเดีย จะให้เด็กดื่มน้ำรากบัว เพื่อระงับอาการท้องร่วง
    -    สายบัว กินเพื่อแก้อาการท้องร่วง
    -    ใบบัว นำมาหั่นฝอย ๆ ชงดื่มแทนน้ำชา ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
    -    เกสรบัว  ส่วนของเกสรสีเหลือง สามารถใช้เข้าเครื่องยาทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะยาลม ยาหอม ยาบำรุงหัวใจ และยาขับปัสสาวะ
    -    ดีบัว เป็นส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ภายในเม็ดบัว มีรสขมจัด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของยาโบราณ มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้
ความมงคล:
บัวหลวง นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยก็ยังนิยมนำดอกบัวหลวงมาใช้บูชาพระ  ยากที่จะหาไม้ดอกชนิดอื่นมาทดแทนได้ ซึ่งบัวที่นิยมนำมาไหว้พระก็ได้แก่ บัวหลวง บัวหลวง นอกจากดอกที่มีคุณค่าแล้ว ส่วนอื่นๆของบัวหลวงก็มีคุณค่าไม่แพ้ดอก ซึ่งแต่ละส่วนก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น

ที่มา : http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวหลวง-10164-13.html

เต่าบก และ เต่าน้ำ ความแตกต่าง และความเข้าใจผิด

เต่าบก และ เต่าน้ำ
                     
                         คำศัพท์ที่แปลว่าเต่าทำไม่มี Turtle กับ Tortoiseทั้ง  2 คำนี้แตกต่างกันแน่นอน แน่นอนว่าในประเทศไทยนั้น สามารถพบเห็นเต่าได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติหรือแม้แต่วัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำคลองต่างๆ อาศัยหลักความเชื่อการทำบุญตามประเภทสัตว์ที่ปล่อย เช่น ปล่อยปลาไหลเพื่อให้ชีวิตราบลื่น ปล่อยหอยขมเพื่อเอาความขื่นขมออกจากชีวิต และไม่พ้นเต่าตัวแทนของสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว ด้วยโลกเราที่พัฒนาไปอย่างรวด การศึกษา( ไทย )เริ่มกระจายไปสู่ชนบท ด้วยความก้าวหน้านี้ก็ยังไม่ทำให้สังคมไทยพุทธหยุดยั้งความคิดที่จะออกมาจากวงจรการทำบุญแต่ได้บาปนี้ได้(ในทัศนคติของผม) เรื่องนี้ขอไม่พูดต่อนะครับ เรื่องความเชื่อนี่เปราะบางจริงๆ
เต่ายักษ์
เต่าบก
601699_467361203341346_1613984315_n
แต่อยากจะอธิบายการปล่อยเต่าตามแหล่งน้ำธรรมชาติเพราะเต่าในโลกนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท  ได้แก่
1. เต่าทะเล
2.เต่าน้ำ/เต่าชายน้ำ
3. เต่าบก  
โดยวันนี้เราจะมาเปรียบเทียบเพื่อที่จะแยกเต่าน้ำกับเต่าบกออกจากกัน
      เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักเต่าบกเลย ไม่เคยรู้เลยว่ามีเต่าบางสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนบกตลอดเวลา ว่ายน้ำไม่ได้ ถ้าอยู่ในน้ำลึกเพียงในระยะเวลาที่กี่นาทีก็อาจจะจมน้ำตายได้ และด้วยสาเหตุที่ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้พบเต่าน้ำได้ทั่วไปทำให้คนไทยส่วนมากรับรู้แต่เพียงว่าเต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อาศัยอยู่ในน้ำเป็นหลักและขึ้นมาบนบกเพื่ออาบแดดบางเวลาเท่านั้น แต่เต่าบกในประเทศไทยมีเพียง 3 สายพันธุ์หลักๆเท่านั้น ได้แก่ เต่าเหลือง เต่าหกเหลืองและเต่าหกดำ ซึ่งเต่าพวกนี้อาศัยตามป่าเขาและพื้นที่ราบลุ่มตามชนบทและไม่สามารถว่ายน้ำได้
พอจะแยกประเภทออกมั้ยคะ ว่าแตกต่างกันอย่างไร  ตัวเราเองก็เคยแยกไม่ออกครับ เคยได้ยินมาหลายต่อหลายปัญหาที่คนไทยนิยมไปปล่อยเต่าที่วัดและได้ปล่อยเต่าบกลงไปในแหล่งน้ำ ซึ่งแน่นอนว่าเต่าคงจะพยายามว่ายขึ้นฝั่งอย่างทุลักทุเล เพราะเต่าบกไม่สามารถว่ายน้ำได้จริงๆครับ คนปล่อยก็คงอยากให้รีบลงน้ำไปก็ยัดเยียดความตายให้เต่าโดยการจับโยนไปไกลๆ ทำให้เต่าหมดโอกาสที่จะตะเกียกตะกายขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ คิดแล้วก็น่าสงสาร แต่ปัญหานี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับเต่าบกเสมอไป กับเต่าน้ำก็เกิดปัญหาการจมน้ำตายได้ ยิ่งในเฉพาะเต่าที่อาศัยบริเวณน้ำตื้นอย่างเช่นเต่านา เต่าดำ ถ้านำไปปล่อยในแหล่งน้ำลึกก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เต่าว่ายน้ำจนหมดแรงแล้วจมน้ำตายอีกเช่นกัน  ควรเลือกปล่อยเต่าในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ห่างไกลชุนชม มีตลิ่งที่ไม่ลาดชันมากเพื่อให้เต่าว่ายขึ้นมาพักผ่อนได้ ในแม่น้ำเจ้าพระยาหรือแม่น้ำสายใหญ่ๆในบ้านเรายิ่งไม่ควรปล่อย ไม่ว่าจะเป็นเต่าสายพันธุ์ไหน เพราะไม่เพียงแต่น้ำที่ลึก แต่กระแสน้ำจะทำให้เต่าไม่สามารถต้านได้และหมดแรงตายไปในที่สุด
เต่าที่เห็นว่าอยู่ในน้ำลึกได้จากการที่ได้เห็นจริงๆตามสวนสาธารณะที่คนนิยมแอบนำไปปล่อยก็เห็นจะมีเต่าบัวหรือเต่าบึงหัวเหลือง เต่าหับและเต่าแก้มแดง (เต่าญี่ปุ่น) เฉพาะตัวหลังสุดไม่นิยมให้ปล่อย เพราะเป็นสัตว์ต่างถิ่น ซึ่งอาจจะมีผลต่อระบบนิเวศน์ของไทยต่อไป 
        ที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า ทำบุญแต่ได้บาป เราทุกคนควรจะช่วยกันหยุดทำบุญแบบนี้เพื่อให้วงจรบาปเหล่านี้ได้หมดไป แบบนี้ถึงจะสามารถช่วยให้เต่าไม่ต้องตกมาเป็นเหยื่อของการทำบุญผิดๆและยังช่วยอนุรักษ์สายพันธุ์เต่าในประเทศให้ดำรงอยู่ต่อไปด้วย
เต่าบกเต่าบก http://www.reptilehiso.com
เรามาทำความรู้จักเต่าบกกันว่าแตกต่างกับเต่านาเต่าบัว เต่าหับที่อาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยกันอย่างไร

ข้อเปรียบเทียบ

เต่าบก

เต่าน้ำ

กระดอง

รูปทรงกระดองส่วนมากมักเป็นโดม นูนสูง ขอบมีความหนา น้ำหนักมากกว่า

กระดองเรียบ รูปทรงค่อนข้างแบน นูนต่ำ ขอบกระดองบาง มีน้ำหนักเบากว่าเต่าบก

ขาและเท้า

ขามีเกร็ดขนาดใหญ่เพื่อใช้ขุดดินและป้องกันตัวเองจากนักล่าในธรรมชาติ

เท้ามีลักษณะกลมและมีเล็บที่แข็งแรงไว้ใช้ขุดดินและฉีกอาหาร

ที่ขาไม่มีเกร็ด มีผิวหนังค่อนข้างยืดหยุ่น

เท้ามีลักษณะแบน มีพังผืดระหว่างนิ้วเพื่อใช้ว่ายน้ำและมีเล็บขนาดเล็ก

อาหาร

โดยมากแล้วพืชเป็นอาหารหลัก บางสายพันธุ์กินเนื้อสัตว์และแมลงเป็นอาหารเสริม

กินสิ่งมีชีวิตเล็กๆในน้ำเป็นอาหารหลัก บางชนิดกินพืชผักในแหล่งน้ำด้วย

พฤติกรรม

อยู่บนพื้นดินตลอดเวลา เวลาเดินจะยกตัวสูงเพื่อไม่ให้ท้องขูดกับพื้นดิน

ใช้เวลาอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่และจะขึ้นมาอาบแดดไม่นาน วิธีเคลื่อนไหวบนพื้นดินจะดูเหมือนคลานมากกว่าเดินเพราะเต่าน้ำจะเคลื่อนที่บนบกได้ไม่คล่องแคล่วนัก


เเนะนำตัวเอง

สวัสดีจร้า.....



เราชื่อ กันต์ฤทัย  คุณเลี้ยง

ชื่อเล่นก็ ตุ๊กติ๊ก

อายุน๊า..... 16 ปีเอง 555+

วันเกิดก็ 27 มกราคม 2540

โรงเรียน...นารีนุกูล

Email -- kanruhai6065@hotmail.com

Facebook -- https://www.facebook.com/kanruthai.khunliang