วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

เต่าบก และ เต่าน้ำ ความแตกต่าง และความเข้าใจผิด

เต่าบก และ เต่าน้ำ
                     
                         คำศัพท์ที่แปลว่าเต่าทำไม่มี Turtle กับ Tortoiseทั้ง  2 คำนี้แตกต่างกันแน่นอน แน่นอนว่าในประเทศไทยนั้น สามารถพบเห็นเต่าได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติหรือแม้แต่วัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำคลองต่างๆ อาศัยหลักความเชื่อการทำบุญตามประเภทสัตว์ที่ปล่อย เช่น ปล่อยปลาไหลเพื่อให้ชีวิตราบลื่น ปล่อยหอยขมเพื่อเอาความขื่นขมออกจากชีวิต และไม่พ้นเต่าตัวแทนของสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว ด้วยโลกเราที่พัฒนาไปอย่างรวด การศึกษา( ไทย )เริ่มกระจายไปสู่ชนบท ด้วยความก้าวหน้านี้ก็ยังไม่ทำให้สังคมไทยพุทธหยุดยั้งความคิดที่จะออกมาจากวงจรการทำบุญแต่ได้บาปนี้ได้(ในทัศนคติของผม) เรื่องนี้ขอไม่พูดต่อนะครับ เรื่องความเชื่อนี่เปราะบางจริงๆ
เต่ายักษ์
เต่าบก
601699_467361203341346_1613984315_n
แต่อยากจะอธิบายการปล่อยเต่าตามแหล่งน้ำธรรมชาติเพราะเต่าในโลกนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท  ได้แก่
1. เต่าทะเล
2.เต่าน้ำ/เต่าชายน้ำ
3. เต่าบก  
โดยวันนี้เราจะมาเปรียบเทียบเพื่อที่จะแยกเต่าน้ำกับเต่าบกออกจากกัน
      เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักเต่าบกเลย ไม่เคยรู้เลยว่ามีเต่าบางสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนบกตลอดเวลา ว่ายน้ำไม่ได้ ถ้าอยู่ในน้ำลึกเพียงในระยะเวลาที่กี่นาทีก็อาจจะจมน้ำตายได้ และด้วยสาเหตุที่ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้พบเต่าน้ำได้ทั่วไปทำให้คนไทยส่วนมากรับรู้แต่เพียงว่าเต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อาศัยอยู่ในน้ำเป็นหลักและขึ้นมาบนบกเพื่ออาบแดดบางเวลาเท่านั้น แต่เต่าบกในประเทศไทยมีเพียง 3 สายพันธุ์หลักๆเท่านั้น ได้แก่ เต่าเหลือง เต่าหกเหลืองและเต่าหกดำ ซึ่งเต่าพวกนี้อาศัยตามป่าเขาและพื้นที่ราบลุ่มตามชนบทและไม่สามารถว่ายน้ำได้
พอจะแยกประเภทออกมั้ยคะ ว่าแตกต่างกันอย่างไร  ตัวเราเองก็เคยแยกไม่ออกครับ เคยได้ยินมาหลายต่อหลายปัญหาที่คนไทยนิยมไปปล่อยเต่าที่วัดและได้ปล่อยเต่าบกลงไปในแหล่งน้ำ ซึ่งแน่นอนว่าเต่าคงจะพยายามว่ายขึ้นฝั่งอย่างทุลักทุเล เพราะเต่าบกไม่สามารถว่ายน้ำได้จริงๆครับ คนปล่อยก็คงอยากให้รีบลงน้ำไปก็ยัดเยียดความตายให้เต่าโดยการจับโยนไปไกลๆ ทำให้เต่าหมดโอกาสที่จะตะเกียกตะกายขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ คิดแล้วก็น่าสงสาร แต่ปัญหานี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับเต่าบกเสมอไป กับเต่าน้ำก็เกิดปัญหาการจมน้ำตายได้ ยิ่งในเฉพาะเต่าที่อาศัยบริเวณน้ำตื้นอย่างเช่นเต่านา เต่าดำ ถ้านำไปปล่อยในแหล่งน้ำลึกก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เต่าว่ายน้ำจนหมดแรงแล้วจมน้ำตายอีกเช่นกัน  ควรเลือกปล่อยเต่าในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ห่างไกลชุนชม มีตลิ่งที่ไม่ลาดชันมากเพื่อให้เต่าว่ายขึ้นมาพักผ่อนได้ ในแม่น้ำเจ้าพระยาหรือแม่น้ำสายใหญ่ๆในบ้านเรายิ่งไม่ควรปล่อย ไม่ว่าจะเป็นเต่าสายพันธุ์ไหน เพราะไม่เพียงแต่น้ำที่ลึก แต่กระแสน้ำจะทำให้เต่าไม่สามารถต้านได้และหมดแรงตายไปในที่สุด
เต่าที่เห็นว่าอยู่ในน้ำลึกได้จากการที่ได้เห็นจริงๆตามสวนสาธารณะที่คนนิยมแอบนำไปปล่อยก็เห็นจะมีเต่าบัวหรือเต่าบึงหัวเหลือง เต่าหับและเต่าแก้มแดง (เต่าญี่ปุ่น) เฉพาะตัวหลังสุดไม่นิยมให้ปล่อย เพราะเป็นสัตว์ต่างถิ่น ซึ่งอาจจะมีผลต่อระบบนิเวศน์ของไทยต่อไป 
        ที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า ทำบุญแต่ได้บาป เราทุกคนควรจะช่วยกันหยุดทำบุญแบบนี้เพื่อให้วงจรบาปเหล่านี้ได้หมดไป แบบนี้ถึงจะสามารถช่วยให้เต่าไม่ต้องตกมาเป็นเหยื่อของการทำบุญผิดๆและยังช่วยอนุรักษ์สายพันธุ์เต่าในประเทศให้ดำรงอยู่ต่อไปด้วย
เต่าบกเต่าบก http://www.reptilehiso.com
เรามาทำความรู้จักเต่าบกกันว่าแตกต่างกับเต่านาเต่าบัว เต่าหับที่อาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยกันอย่างไร

ข้อเปรียบเทียบ

เต่าบก

เต่าน้ำ

กระดอง

รูปทรงกระดองส่วนมากมักเป็นโดม นูนสูง ขอบมีความหนา น้ำหนักมากกว่า

กระดองเรียบ รูปทรงค่อนข้างแบน นูนต่ำ ขอบกระดองบาง มีน้ำหนักเบากว่าเต่าบก

ขาและเท้า

ขามีเกร็ดขนาดใหญ่เพื่อใช้ขุดดินและป้องกันตัวเองจากนักล่าในธรรมชาติ

เท้ามีลักษณะกลมและมีเล็บที่แข็งแรงไว้ใช้ขุดดินและฉีกอาหาร

ที่ขาไม่มีเกร็ด มีผิวหนังค่อนข้างยืดหยุ่น

เท้ามีลักษณะแบน มีพังผืดระหว่างนิ้วเพื่อใช้ว่ายน้ำและมีเล็บขนาดเล็ก

อาหาร

โดยมากแล้วพืชเป็นอาหารหลัก บางสายพันธุ์กินเนื้อสัตว์และแมลงเป็นอาหารเสริม

กินสิ่งมีชีวิตเล็กๆในน้ำเป็นอาหารหลัก บางชนิดกินพืชผักในแหล่งน้ำด้วย

พฤติกรรม

อยู่บนพื้นดินตลอดเวลา เวลาเดินจะยกตัวสูงเพื่อไม่ให้ท้องขูดกับพื้นดิน

ใช้เวลาอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่และจะขึ้นมาอาบแดดไม่นาน วิธีเคลื่อนไหวบนพื้นดินจะดูเหมือนคลานมากกว่าเดินเพราะเต่าน้ำจะเคลื่อนที่บนบกได้ไม่คล่องแคล่วนัก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น