วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รายงานผลการปฏิบัติงานโครงงานยับยั้งเชื้อ

วันพฤหัสบอดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

                วันนี้คุณครูจริยา จันทวีได้พาไปทำแล็ปยับยั้งเชื้อที่มหาวิยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเวลาประมาณ 14.00 น. พร้อมกับครูอีกท่านหนึ่ง

      โดยจะแบ่งเป็น 2 อย่างคือ
                1. ยั้บยั้งเชื้อโดยสารสกัดจากรากบัว


                2. ยั้บยั้งเชื้อโดยสารสกัดจากดีบัว


      ยับยั้งเชื้อ 2 ชนิด คือ
                1. Escherichia Coli ; E.Coli
                2.Staphylococcus aureus ; S.aureus



ขั้นแรกสกัดสาร
             
               รากบัวสกัดโดยการหั่นแล้วนำไปปั่นให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่น จากนั้นคั้นเอาน้ำจากหัวบัว กรองด้วยกระดาษกรองเบอร์ 1

หั่นรากบัว

ปั่นด้วยเครื่องปั่น

ตักใส่ถุงแล้วคั้นเอาน้ำ
กรองด้วยกระดาษกรองเบอร์ 1

               การสกัดสารจากดีบัวทำได้โดยการบดดีบัวด้วยดกร่งให้ละเอียด  เราใช้ดีบัว 6 กรัม จากนั้นตักใส่ถุงเติมนั้น 54 ml. คั้นเอาน้ำ จากนั้นกรองด้วยกระดาษกรองเบอร์ 1

บดดีบัว

หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนของการยับยั้งเชื้อ




แล้วเราก็จะไปดูผลการทดลองวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557 นี้ค่ะ 

        วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557 

ภาพผลการทดลอง

                                                      

ภาพที่ 1 ภาพรวมการทดลอง 

                                                        

ภาพที่ 2 ภาพการทดลองสารสกัดจากรากบัวในการยับยั้งเชื้อ E.coli ครั้งที่ 1 


ภาพที่ 3 ภาพการทดลองสารสกัดจากรากบัวในการยับยั้งเชื้อ E.coli ครั้งที่ 2 


ภาพที่ 4 ภาพการทดลองสารสกัดจากรากบัวในการยับยั้งเชื้อ E.coli ครั้งที่ 3

ความคืบหน้าในการทดลองงานวิจัย ประสบผลสำเร็จ เพราะ การทดลองเป็นไปตามสมมติฐานของโครงงาน

เทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยา

เทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยา
1. บทนำ
ในการเรียนวิชาทางจุลชีววิทยาสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ บทปฏิบัติการที่มีไว้เพื่อให้ได้รู้หลักการและฝึกหัดเทคนิคพื้นฐานในการทำปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาอย่างถูกวิธี เพราะงานทางจุลชีววิทยาต้องการความสะอาดและปลอดภัยเป็นอย่างสูง ดังนั้น การฝึกเทคนิคพื้นฐาน เช่น การแยกเชื้อบริสุทธิ์ (isolation of pure culture) และการถ่ายเชื้อ (culture transfer) นอกจากจะฝึกให้สามารถแยกเชื้อและถ่ายเชื้อเป็นแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปนเปื้อน (contamination) ของเชื้ออื่นที่ไม่ต้องการจากสภาพแวดล้อมที่กำลังทำการทดลอง การทำปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาจึงมีจำเป็นที่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือบางอย่างที่จำเพาะ เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อและการเลี้ยงเชื้อ ดังนั้นจึงต้องทราบถึงหลักปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา และวิธีการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานทางจุลชีววิทยาอย่างถูกต้องและเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น
2. เทคนิคที่ใช้ในการแยกเชื้อบริสุทธิ์
2.1 Spread-Plate Technique
ในแหล่งธรรมชาตินั้นปกติเชื้อแบคทีเรียจะเติบโตอยู่รวมกันหลายๆสายพันธุ์ เพื่อการคัดแยกและจำแนกชนิดของแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์จะต้องมีขั้นตอนการทำให้เชื้อบริสุทธิ์ (pure culture) โดยเทคนิคที่ทำได้ง่ายคือ spread plate technique ซึ่งเทคนิคนี้แบคทีเรียที่ถูกทำให้เจือจางให้มีจำนวนประมาณ 100-200 เซลล์ หรือน้อยกว่าจะถูกนำไปวางตำแหน่งตรงกลางของจานเพาะเชื้อ (petri dish/plate) แล้วทำการเกลี่ยให้เชื้อกระจายทั่วด้วยแท่งแก้วรูปตัว L หลังจากบ่มที่อุณหภูมิที่เหมาะสมและมีระยะเวลาเพียงพอ จะปรากฏโคโลนี (colony) ของเชื้อแบคทีเรียขึ้น โดยแต่ละโคโลนีจะมีจำนวนแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก และแต่ละโคโลนีจะถือว่ามาจากแบคทีเรียสายพันธุ์เดียว ดังนั้นจะทำให้เกิดการแยกจุลินทรีย์ออกมาเป็นเชื้อบริสุทธิ์ขึ้น เมื่อมองด้วยตาเปล่าแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์โคโลนีจะมีลักษณะแตกต่างกันดังแสดงในภาพที่ 1-1 นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เชื้อมีความบริสุทธิ์มากขึ้นโดยการนำโคโลนีที่ต้องการไปเพาะเลี้ยงในจานเพาะเชื้อที่มีอาหารใหม่ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Streak-Plate Technique

ภาพที่ 1-1 ลักษณะโคโลนีของแบคทีเรียที่เจริญบนอาหารแข็งและคำ (Key word) ที่ใช้ในการอธิบายลักษณะโคโลนี
ที่มา: Prescott (2002)
2.2 Pour Plate Technique             
เทคนิคการเพาะเชื้อแบบ pour-plate technique ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการแยกเชื้อให้บริสุทธิ์ได้เช่นกัน โดยตัวอย่างเริ่มต้นจะถูกเจือจางให้มีความเข้มข้นหลายๆ ระดับด้วยเทคนิค serial dilution เพื่อทำให้เชื้อถูกเจือจางมากพอที่จะทำให้เกิดโคโลนีเดี่ยวๆ บนจานเพาะเชื้อ โดยนำตัวอย่างที่มีความเข้มข้นที่เหมาะสมเติมลงในจานเพาะเชื้อเปล่าที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว แล้วทำการเทอาหารวุ้นลง (Agar Medium) ไปในจานเพาะเชื้อ (โดยอุณหภูมิของอาหารเพาะเชื้อประมาณ 48-50 องศาเซลเซียส ซึ่งจะไม่ทำให้เชื้อแบคทีเรียและยีสต์ตายได้) ผสมอาหารและเชื้อให้เข้ากันและให้เกิดการกระจายอย่างสม่ำเสมอด้วยการหมุนจานเพาะเชื้อ เมื่อวุ้นเกิดการแข็งตัว เซลล์จุลินทรีย์จะถูกตรึงให้อยู่ด้านในของอาหาร และจะเกิดโคโลนีเดี่ยวๆ ของเชื้อขึ้นมา
2.3 Streak-Plate Technique
การแยกเชื้อให้บริสุทธิ์เป็นเทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยาที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น น้ำ อากาศ พื้นห้องเรียน หรือแม้แต่ร่างกายของคนก็มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่หลายชนิดที่อาจปนเปื้อนในหลอดเพาะเชื้อได้ หลักการของการแยกเชื้อให้บริสุทธิ์บนอาหารเลี้ยงเชื้อ (culture medium) คือ จะต้องแยกเชื้อให้ได้โคโลนีเดี่ยวๆ (single colony) จำนวนมาก จากนั้นจึงนำเชื้อที่เป็นโคโลนีเดี่ยวไปศึกษารูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติต่างๆ เพื่อให้ทราบว่าเป็นเชื้อชนิดใด เทคนิคที่นิยมใช้ในการแยกเชื้อบริสุทธิ์คือ วิธี cross streak plate ซึ่งทำได้โดยใช้ห่วงเขี่ยเชื้อ (loop) แตะตัวอย่างหรือสิ่งส่งตรวจแล้วลากหรือขีด (streak) ลงบนจานเพาะเชื้อที่มีอาหารแข็ง (agar plate) อยู่ให้ได้แนวระนาบติดต่อกัน 4-5 เส้น หลังจากเสร็จในระนาบแรกซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์อยู่หนาแน่นที่สุด ให้นำห่วงเขี่ยเชื้อมาเผาไฟให้ลวดที่ปลายร้อนแดงเพื่อฆ่าเชื้อที่ติดให้หมด จากนั้นจึงขีดเชื้อจากส่วนของรอยลากในระนาบแรกออกมาเพียงหนึ่งครั้งแล้วลากเป็นระนาบที่สอง 4-5 เส้นติดกันโดยรอยขีดของเชื้อจะไม่ทับกับระนาบแรกอีก หลังจากนั้นก็ทำเช่นเดียวกันกับระนาบที่สองจนครบทั่วทั้งจานเพาะเชื้อซึ่งมีประมาณสี่ระนาบ (ภาพที่ 1-2) เมื่อได้เชื้อบริสุทธิ์แล้วจะมีการศึกษาเชื้อต่อไปในด้านต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการถ่ายเชื้อจากอาหารเดิมไปยังอาหารใหม่ หรือมีการเพาะเชื้อลงในอาหารเพื่อการทดสอบและการวิเคราะห์ต่างๆ ดังนั้นการเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องในการถ่ายเชื้อจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งซึ่งต้องอาศัยหลักการของ aseptic technique เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อชนิดอื่นซึ่งจะทำให้ผลการทดลองผิดพลาดได้ อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการถ่ายเชื้อคือ ห่วงเขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ (needle) และตะเกียงอัลกอฮอล์สำหรับใช้ฆ่าเชื้อโดยการเผา (incineration) การถ่ายเชื้อจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและยีสต์จะใช้ห่วงเขี่ยเชื้อเป็นส่วนใหญ่ มีบางครั้งที่ใช้เข็มเขียเชื้อปลายตรง ส่วนเชื้อราที่เป็นเส้นสาย (filamentous fungi) มักจะใช้เข็มเขี่ยปลายงอ
 
ภาพที่ 1-2 การแยกเชื้อด้วยวิธี cross streak plate


3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาเทคนิคพื้นฐานเกี่ยวกับทางจุลชีววิทยาได้แก่ การถ่ายเชื้อที่ถูกต้องด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ (aseptic technique) การทำ serial dilution, Spread plate, Pour plate และ Streak plate
2. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อควรระวังและความปลอดภัยในการการปฏิบัติงาน
4. วิธีการทดลอง
4.1 การเพาะเชื้อแบบ Spread Plate
การเจือจางแบบ 10 serial dilutions
  1. ปิเปต 1 ml ซัสเพนชันของเชื้อตั้งต้น (100) มาใส่หลอดที่มีน้ำเกลือ (0.9 % NaCl) ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ปริมาตร 9 ml ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เขย่าให้เข้ากัน จะได้เป็นซัสเพนชันของเชื้อที่ 10-1
  2. ปิเปตซัสเพนชันของเชื้อที่ได้ (10-1) 1 ml ใส่หลอดที่มีน้ำเกลือ (0.9 % NaCl) ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ปริมาตร 9 ml ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เขย่าให้เข้ากัน จะได้เป็นซัสเพนชันของเชื้อที่ 10-2
  3. ปิเปตซัสเพนชันของเชื้อที่ได้ (10-2) 1 ml ใส่หลอดที่มีน้ำเกลือ (0.9 % NaCl) ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ปริมาตร 9 ml ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เขย่าให้เข้ากัน จะได้เป็นซัสเพนชันของเชื้อที่ 10-3
  4. นำไปทดลองต่อในขั้นต่อไป : การเพาะเชื้อแบบ Spread Plate และ Pour Plate
  ภาพที่ 1-3 ขั้นตอนการทำ serial dilution
ที่มา: Prescott (2002)
ขั้นตอนการ Spread plate
1. ระบุชื่อ-กุล นักศึกษา วันที่ทำการทดลองที่ด้านล่างของจานเพาะเชื้อ
2. ปิเปตตัวอย่างปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร ลงที่ตำแหน่งตรงกลางจานเพาะเชื้อ
3. จุ่มแท่งแก้วรูปตัวแอล (spreader) ในแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 95 แล้วเอียง spreader ที่ขอบของบีกเกอร์เพื่อแยกแอลกอฮอล์ส่วนเกินออก
4. นำแท่งแก้วเกลี่ย spreader ที่ผ่านการจุ่มแอลกอฮอล์ไปเผาไฟจนแอลกอฮอล์ไหม้หมด และปล่อยให้ spreader เย็น
5. นำ spreader เกลี่ยเชื้อให้ทั่วจานจานเพาะเชื้อ และระมัดระวังไม่ให้มือสัมผัสกับขอบด้านในของจานเพาะเชื้อ
6. จุ่ม spreader ในแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 95 และกำจัดแอลกอฮอล์ส่วนเกินโดยให้แท่งแก้วสัมผัสกับของบีกเกอร์ นำเผาไฟจนแอลกอฮอล์ไหม้หมด ปล่อยให้เย็น และนำไปเกลี่ยเชื้อแบคทีเรียจานในจานเพาะเชื้อที่เหลือ โดยขั้นตอนการ Spread plate แสดงไว้ในภาพที่ 1-4
7. กลับจานเพาะเชื้อให้ด้านที่มีอาหารเพาะเชื้ออยู่ด้านบน แล้วนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 24-48 ชั่วโมง
8. สังเกตลักษณะของโคโลนีที่ปรากฏ

ภาพที่ 1-4  ขั้นตอนเพาะเชื้อด้วยเทคนิค spread plate technique
ที่มา: Prescott (2002)


4.2 การเพาะเชื้อแบบ Pour Plate
  1. เตรียมจานเพาะเชื้อ (เปล่า) เขียนชื่อ-สกุล วันที่ทำการทดลองที่ด้านล่างของจานเพาะเชื้อ
  2. เตรียมหลอดอาหาร NA ปริมาตร 15 ml ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
  3. เตรียมปิเปตขนาด 1 ml  ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
  4. ปิเปตซัสเพนชันของเชื้อที่อัตราการเจือจาง 10-1 ปริมาตร 1.0 ml ปล่อยลงในจานเพาะเชื้อด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
  5. เทอาหารจากหลอดอาหาร NA 15 ml ลงในจานเพาะเชื้อที่มีเชื้ออยู่แล้ว
  6. หมุนจานเพาะเชื้อเพื่อให้เชื้อและอาหารผสมเข้ากันดี รอจนอาหารกลายเป็นวุ้นแข็งดีแล้วจึงคว่ำจานเพาะเชื้อ แล้วนำไปบ่มที่ 3737oC 24-48 ชั่วโมง ทำซ้ำโดยใช้ซัสเพนชันของเชื้อที่ 10-2 แทน โดยขั้นตอนการ pour plate แสดงไว้ในภาพที่ 1-5
ภาพที่ 1-5  ขั้นตอนการเพาะเชื้อด้วยเทคนิค pour plate
ที่มา: Prescott (2002)


4.3 การทำให้เชื้อบริสุทธิ์ด้วยเทคนิค Streak plate
1. ระบุชื่อ-กุล นักศึกษา วันที่ทำการทดลองที่ด้านล่างของจานเพาะเชื้อที่มีอาหารเลี้ยงอยู่
2. ใช้ลูบเขี่ยเชื้อ (Loop) เขี่ยเอาเชื้อออกจากหลอดที่มีเชื้อด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic technique) ดังแสดงในภาพที่ 1-6

ภาพที่ 1-6 การถ่ายเชื้อด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ              
ที่มา: Prescott (2002)

3. แล้วทำการ Streak เชื้อที่อยู่ปลาย loop ลงบนจานเพาะเชื้อที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อที่ได้เตรียมไว้แล้ว ด้วยความระมัดระวัง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
3.1 เปิดฝาจานเพาะเชื้อให้มีช่องว่างเพียงพอที่จะสอด loop เข้าไปได้ง่าย ดังแสดงในภาพที่ 1-7 (ก) แล้วสอด Loop ที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ทำการ streak ที่พื้นที่หมายเลข 1 โดยในระหว่างการ streak จะต้องไม่ทำให้ผิวของอาหารแตก
3.2 เมื่อ streak ที่บริเวณพื้นที่หมายเลข 1 แล้วให้นำ Loop ออกมาฆ่าเชื้อโดยการเผาไฟ หลังจากนั้นทำให้ loop เย็นลงโดยการแตะที่ขอบของอาหารเลี้ยงเชื้อใกล้ๆ กับบริเวณหมายเลข 1
3.3 หมุนจานเพาะเชื้อให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการ streak บริเวณพื้นที่หมายเลข 2 แล้วทำการ cross streak โดยจุดเริ่มต้นจะอยู่ที่บริเวณพื้นที่หมายเลข 1 แล้วทำการ Streak ที่บริเวณพื้นที่หมายเลข 2 ดังภาพที่ 1-7 (ข)
3.4 เมื่อ streak ที่บริเวณพื้นที่หมายเลข 2 แล้วให้นำ Loop ออกมาฆ่าเชื้อโดยการเผาไฟ หลังจากนั้นทำให้ loop เย็นลงโดยการแตะที่ขอบของอาหารเลี้ยงเชื้อใกล้ๆ กับบริเวณหมายเลข 2
3.5 หมุนจานเพาะเชื้อให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการ streak บริเวณพื้นที่หมายเลข 3 แล้วทำการ cross streak โดยจุดเริ่มต้นจะอยู่ที่บริเวณพื้นที่หมายเลข 2 แล้วทำการ Streak ที่บริเวณพื้นที่หมายเลข 3 ดังภาพที่ 1-7 (ข) ถ้าหากจำเป็นสามารถทำการ streak ที่บริเวณพื้นที่หมายเลข 4 ได้
3.6 กลับจานเพาะเชื้อแล้วนำไปบ่มในตู้บ่มเชื้อควบคุมอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 24-48 ชั่วโมง แล้วสังเกตการเจริญของเชื้อ


(ก)


(ข)

(ค)
(ง)
ภาพที่ 1-7 ขั้นตอนการทำเชื้อบริสุทธิ์ด้วยเทคนิค Streak plate
ที่มา: Prescott (2002)


การสกัดด้วยตัวทำละลาย


การสกัดด้วยตัวทำละลาย
            การสกัดด้วยตัวทำละลาย (sovent extraction) เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง           ในอุตสาหกรรม เช่น การสกัดน้ำมันพืชเพื่อใช้ประกอบอาหาร โดยนำวัตถุดิบมาจากเมล็ดของพืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง ปาล์ม ถั่วลิสง ข้าวโพด เมล็ดบัว งา และรำข้าว ในการสกัดน้ำมันพืชนิยมใช้เฮกเชนเป็นตัวทำละลาย หลังการสกัดจะได้สารละลายที่มีน้ำมันพืชละลายอยู่ในเฮกเซน จากนั้นนำไปกรองเอากากเมล็ดพืชออก            แล้วนำสารละลายไปกลั่นแยกลำดับส่วนเพื่อแยกเฮกเซนจะได้น้ำมันพืช ซึ่งต้องนำไป ฟอกสี ดูดกลิ่น และกำจัดสารอื่น ๆ ออกก่อน จึงจะได้น้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหาร ทั้งนี้   การสกัดด้วยตัวทำละลาย เป็นวิธีการแยกสารที่ใช้มากในชีวิตประจำวัน เป็นการแยกสาร         ที่ต้องการออกจากส่วนต่าง ๆ ของพืชหรือจากของผสมต้องเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารที่ต้องการ
การเลือกตัวทำละลายที่นำมาใช้ในการสกัดมีหลักทั่วไป ดังนี้
 
1. ต้องละลายสารที่ต้องการสกัดได้ดี 
2. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด 
3. ถ้าต้องการแยกสี ตัวทำละลายจะต้องไม่มีสี ถ้าต้องการแยกกลิ่น ตัวทำละลายต้องไม่มีกลิ่น 
4. ไม่มีพิษ มีจุดเดือดต่ำ และแยกตัวออกจากสารที่ต้องการสกัดได้ง่าย 
5. ไม่ละลายปนเป็นเนื้อเดียวกับสารที่นำมาสกัด
6. มีราคาถูก 

ตัวทำละลายที่นิยมใช้ในการสกัด ได้แก่ น้ำ เบนซิน อีเทอร์ โทลูอีน      และเฮกเซน สำหรับการสกัดน้ำมันพืชนิยมใช้เฮกเซน ในการสกัดน้ำมันพืชนั้น เมื่อใช้เฮกเซนสกัดน้ำมันออกจากพืชแล้วต้องนำสารละลายที่ได้ไปกลั่นเพื่อแยก  เฮกเซนออกไปจากสารที่สกัดได้ ต่อจากนั้นจึงกำจัดสีและกลิ่นจนได้น้ำมันพืชบริสุทธิ์
ตัวทำละลายที่นิยมใช้ในการสกัด ได้แก่ น้ำ เบนซิน อีเทอร์ โทลูอีน      และเฮกเซน สำหรับการสกัดน้ำมันพืชนิยมใช้เฮกเซน ในการสกัดน้ำมันพืชนั้น เมื่อใช้เฮกเซนสกัดน้ำมันออกจากพืชแล้วต้องนำสารละลายที่ได้ไปกลั่นเพื่อแยก  เฮกเซนออกไปจากสารที่สกัดได้ ต่อจากนั้นจึงกำจัดสีและกลิ่นจนได้น้ำมันพืชบริสุทธิ์
การสกัดด้วยตัวทำละลาย อาจสกัดด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ซอกซ์เลต เครื่องมือดังกล่าวนี้ใช้ตัวทำละลายปริมาณน้อย เพราะใช้วิธีการให้ตัวทำละลาย         หมุนเวียนผ่านสารที่ต้องการสกัดหลาย ๆ ครั้งต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งสกัดสารออกมาได้เพียงพอ

ประโยชน์ของการสกัดด้วยด้วยตัวทำละลาย
1. ใช้สกัดน้ำมันพืชจากเมล็ดพืช เช่น น้ำมันงา ถั่ว ปาล์ม นุ่น บัว เป็นต้น นิยมใช้
เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย
2. สกัดสารมีสีออกจากพืช
3. ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยออกจากพืช
4. ใช้สกัดยาออกจากสมุนไพร
สารที่นิยมสกัดด้วยตัวทำละลาย
           การสกัดสารออกจากพืชต่าง ๆ เช่น ใบเตย มะลิ ตะไคร้หอม เป็นต้น  โดยปริมาณ    ที่สกัดได้ขึ้นอยู่กับประมาณพืชที่ใช้ ชนิดตัวทำละลายและปริมาณตัวทำละลาย ได้แก่        น้ำสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่าเอทานอล ถ้าใช้ตัวทำละลายที่ผสมน้ำและเอทานอลเข้าด้วยกัน สารที่สกัดจะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยู่ด้วยกัน สารที่สกัดได้จากขมิ้นนำไปใช้ประโยชน์                            ในการผสมเครื่องสำอางและอาหาร สารจากพืชส่วนใหญ่ใช้น้ำเป็นตัวสกัด แต่บางชนิด        ใช้น้ำเย็น บางชนิดใช้น้ำร้อน สารที่ใช้น้ำเย็นสกัด เช่น สกัดสีจากใบเตย กลิ่นหอม                จากดอกมะลิ สีจากดอกอัญชัน สารที่ใช้น้ำร้อนสกัด เช่น สีจากดอกกระเจี๊ยบ กลิ่นหอมจากตะไคร้หอม สีจากแก่นขนุน ใบหูกวาง สารบางชนิดสกัดโดยใช้เอทานอล เช่น ยาดองสมุนไพร ไวน์กระชายดำ

       เฮกเซน มีสูตรทางเคมีคือ C2H14 เป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีจุดเดือด 69 องศาเซลเซียส  ไอของเฮกเซนเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ
จากตัวอย่างข้างต้น สรุปได้ดังนี้
1. ตัวทำละลายขมิ้น 2 ชนิด คือ น้ำ และเอทานอลให้ผลการสกัดสารต่างกันคือ    ทั้งน้ำและเอทานอลสามารถสกัดสีขมิ้นได้ แต่น้ำสามารถสกัดกลิ่นขมิ้นได้ดีกว่าเอทานอล เนื่องจากเอทานอลมีกลิ่นแต่น้ำไม่มีกลิ่น
2. การหั่นขมิ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีผลต่อการสกัด เพราะยิ่งขมิ้นชิ้นเล็ก การสกัดสารยิ่งดี เนื่องจากผิวหน้าสารที่ถูกสกัดเพิ่มมากขึ้นเมื่อสารนั้นชิ้นเล็กลง
สารที่สกัดจากพืชหลายชนิดเป็นโอสถสารหรือตัวยาอยู่ในพืช เมื่อสกัดสารออกมาได้สามารถนำตัวยาที่สกัดได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ทำเครื่องสำอาง         ผสมสารอาหาร ผสมในน้ำมันหม่องใช้สูดดม
ภาพที่ 18 น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลาย 
ที่มา : http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/16.htm

แทนนิน สารรสฝาด

แทนนิน สารรสฝาด
โครงสร้สงแทนนิน

             แทนนิน (tannin, tannic acid ) เป็นพอลิฟีนอล (polyphenol) ที่มีโมเลกุลใหญ่ และโครงสร้างซับซ้อน มีสูตรโมเลกุล (C75 H52 O 46) เป็นกรดอ่อน ประกอบด้วย gallic acid 9 โมเลกุล และ น้ำตาลกลูโคส 1 โมเลกุลแทนนิน มีจำหน่ายเป็นการค้าในรูปของ กรดแทนนิค (tannic acid)
         แทนนิน เป็นสารให้ความฝาด (astringency) และรสขม (bitter) พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ใบชา ใบฝรั่ง ใบพลู ใบชุมเห็ด ผลไม้ดิบ เช่น กล้วยดิบ ในเปลือก และเมล็ดของผลไม้ เช่นเปลือกมังคุด องุ่นเม็ดในของมะขาม เปลือกมะพร้าวอ่อนและพบในไวน์แดง แทนนิน มีส่วนสำคัญ เป็นสารตั้งต้นในปฏิกริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ (enzymetic browning reaction) ของผลไม้มีฤทธิ์เป็นสารกันเสีย (preservative) ยับยังการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
สารแทนนินที่พบ ในชาที่สำคัญคือ catechin ชาดำ (black tea) และชาอู่หลง (oolong tea) จะมีปริมาณแทนนินสูงกว่า ชาเขียว (green tea)
ประเภทของแทนนิน
แทนนิน มี 2 ชนิด คือ
คอนเดนส์แทนนิน (condensed tannins) หรือเรียกว่า โปรแอนโทรไซยานิน (proanthrocyanin) หรือ flavan - 3 - ols
สารไฮโดรไลซ์แทนนิน (hydrolysable tannins) คือแบบที่สามารถถูกแยกออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ ได้แก่ glycosylated gallic acids, Catechin, Gallo catechin, epicatechinn, epigallocatechin, Kaempferol, Querectin เป็นต้น
สรรพคุณทางยา :
แทนนิน มีคุณสมบัติตกตะกอนโปรตีน มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและเชื้อราได้ ใช้เป็นยา แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บัวหลวง


บัวหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Nelumbo nucifera
ชื่อวงศ์:  NYMPHACACEAE
ชื่อสามัญ:  Lotus, Sacred lotus, Egyptian
ชื่อพื้นเมือง:  บุณฑริก ปุณฑริก  ปทุม ปัทมา โกกระณต สัตตบุษย์  บัวฉัตรขาว   สัตตบงกช   บัวฉัตรชมพู   โช้ค  บัวอุบล
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้โผล่เหนือน้ำ อายุหลายปี ลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้าใต้ดิน และเป็นไหลเหนือดิน ใต้น้ำ

ต้นบัวหลวง

    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับ  ใบรูปไข่ค่อนช้างกลม ขนาด 15-40 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวและมีนวลเคลือบ ก้านใบกลมเรียวแข็งส่งใบให้เจริญที่ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ มีหนามเป็นตุ่มเล็กๆ ภายในก้านใบมีน้ำยางใสเมื่อถูกอากาศเป็นสีคล้ำ

ใบบัวหลวง

    ดอก  สีชมพู ขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ก้านดอกสีเชียว อวบกลมส่งดอกชูขึ้นเหนือน้ำ  กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและกลีบดอกซ้อนกัน  มีเกสรตัวผู้จำนวนมากติดอยู่รอบฐานรองดอกที่บวมขยายใหญ่ หุ้มรังไข่ไว้ภายในเรียกว่า   "ฝักบัว"   ดอกบานเต็มที่กว้าง 20-25 เซนติเมตร บัวหลวงมีหลายพันธุ์มีชื่อเรียกต่างกันไปตามขนาดและลักษณะชองดอกคือ     
                    ดอกเล็กสีขาว เรียก บัวปักกิ่งขาว บัวหลวงจีนขาว บัวเข็มขาว
                    ดอกเล็กสีชมพู เรียก บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีนชมพู บัวเข็มชมพู
                    ดอกสีขาว เรียก บุณฑริก ปุณฑริก
                    ดอกสีชมพู เรียก ปทุม ปัทมา โกกระณต 
                    ดอกสั้นป้อมสีขาวกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบุษย์ บัวฉัตรขาว
                    ดอกสั้นป้อมสีชมพูกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบงกช บัวฉัตรสีชมพู
ดอกบัวหลวง

ดอกบัวรูปดอกบัวหลวงรูปภาพดอกบัวหลวง

    ฝัก/ผล  ผลแห้ง เเบบผลกลุ่มประกอบด้วยผลย่อยรูปกลมรีจำนวนมากอยู่ภายในฝักบัวรูปกรวย ในผลย่อยมีเมล็ดขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดล่อน
ฝักบัวหลวง

ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกประดับสระน้ำหรือปลูกในกระถางทรงสูง
การขยายพันธุ์:  ไหล หรือโดยการแยกกอ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ก้านใบและก้านดอก ทำกระดาษ และเส้นใยใช้ทำไส้ตะเกียง
    -    บูชาพระ
    -    เปลือกเมล็ดบัวแห้ง และฝักแก่ทำปุ๋ย
    -    เครื่องสำอาง
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
แหล่งที่พบ:  พบทั่วไปทุกภาค
ส่วนที่ใช้บริโภค:  เม็ดบัว รากบัว ไหลบัว สายบัว ใบอ่อน
การปรุงอาหาร:
    -    เม็ดบัว สามารถนำมากินได้ทั้งสดและแห้ง เม็ดบัวมีปริมาณสารอาหารที่สำคัญ คือ โปรตีน ประมาณ 23 % ซึ่งสูงกว่าข้าวถึง 3 เท่า และเป็นแหล่งรวมธาตุ อาหารหลายชนิดด้วยกัน เม็ดบัวนำมาประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น สังขยา เม็ดบัว ขนมหม้อแกงเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม สาคูเม็ดบัว เป็นต้น
    -    รากบัว นิยมนำมาเชื่อมแห้งกินเป็นของหวาน
    -    ไหลบัว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสด ทั้งแห้ง โดยมากจะนำมาแกงส้ม แกงเลียง ผัดเผ็ดต่าง ๆ
    -    สายบัว สามารถปรุงอาหารแทนผักได้หลายชนิด ทั้งแกงส้มสายบัว แกงสายบัวกับปลาทู ฯลฯ
    -    ใบอ่อน สามารถนำมากินเป็นผักสดแกล้มน้ำพริก
สรรพคุณทางยา:
    -    รากบัว นำไปต้มกับน้ำตาลกรวด แก้ร้อนใน ชาวอินเดีย จะให้เด็กดื่มน้ำรากบัว เพื่อระงับอาการท้องร่วง
    -    สายบัว กินเพื่อแก้อาการท้องร่วง
    -    ใบบัว นำมาหั่นฝอย ๆ ชงดื่มแทนน้ำชา ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
    -    เกสรบัว  ส่วนของเกสรสีเหลือง สามารถใช้เข้าเครื่องยาทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะยาลม ยาหอม ยาบำรุงหัวใจ และยาขับปัสสาวะ
    -    ดีบัว เป็นส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ภายในเม็ดบัว มีรสขมจัด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของยาโบราณ มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้
ความมงคล:
บัวหลวง นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยก็ยังนิยมนำดอกบัวหลวงมาใช้บูชาพระ  ยากที่จะหาไม้ดอกชนิดอื่นมาทดแทนได้ ซึ่งบัวที่นิยมนำมาไหว้พระก็ได้แก่ บัวหลวง บัวหลวง นอกจากดอกที่มีคุณค่าแล้ว ส่วนอื่นๆของบัวหลวงก็มีคุณค่าไม่แพ้ดอก ซึ่งแต่ละส่วนก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น

ที่มา : http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของบัวหลวง-10164-13.html

เต่าบก และ เต่าน้ำ ความแตกต่าง และความเข้าใจผิด

เต่าบก และ เต่าน้ำ
                     
                         คำศัพท์ที่แปลว่าเต่าทำไม่มี Turtle กับ Tortoiseทั้ง  2 คำนี้แตกต่างกันแน่นอน แน่นอนว่าในประเทศไทยนั้น สามารถพบเห็นเต่าได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติหรือแม้แต่วัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำคลองต่างๆ อาศัยหลักความเชื่อการทำบุญตามประเภทสัตว์ที่ปล่อย เช่น ปล่อยปลาไหลเพื่อให้ชีวิตราบลื่น ปล่อยหอยขมเพื่อเอาความขื่นขมออกจากชีวิต และไม่พ้นเต่าตัวแทนของสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว ด้วยโลกเราที่พัฒนาไปอย่างรวด การศึกษา( ไทย )เริ่มกระจายไปสู่ชนบท ด้วยความก้าวหน้านี้ก็ยังไม่ทำให้สังคมไทยพุทธหยุดยั้งความคิดที่จะออกมาจากวงจรการทำบุญแต่ได้บาปนี้ได้(ในทัศนคติของผม) เรื่องนี้ขอไม่พูดต่อนะครับ เรื่องความเชื่อนี่เปราะบางจริงๆ
เต่ายักษ์
เต่าบก
601699_467361203341346_1613984315_n
แต่อยากจะอธิบายการปล่อยเต่าตามแหล่งน้ำธรรมชาติเพราะเต่าในโลกนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท  ได้แก่
1. เต่าทะเล
2.เต่าน้ำ/เต่าชายน้ำ
3. เต่าบก  
โดยวันนี้เราจะมาเปรียบเทียบเพื่อที่จะแยกเต่าน้ำกับเต่าบกออกจากกัน
      เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักเต่าบกเลย ไม่เคยรู้เลยว่ามีเต่าบางสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนบกตลอดเวลา ว่ายน้ำไม่ได้ ถ้าอยู่ในน้ำลึกเพียงในระยะเวลาที่กี่นาทีก็อาจจะจมน้ำตายได้ และด้วยสาเหตุที่ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้พบเต่าน้ำได้ทั่วไปทำให้คนไทยส่วนมากรับรู้แต่เพียงว่าเต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อาศัยอยู่ในน้ำเป็นหลักและขึ้นมาบนบกเพื่ออาบแดดบางเวลาเท่านั้น แต่เต่าบกในประเทศไทยมีเพียง 3 สายพันธุ์หลักๆเท่านั้น ได้แก่ เต่าเหลือง เต่าหกเหลืองและเต่าหกดำ ซึ่งเต่าพวกนี้อาศัยตามป่าเขาและพื้นที่ราบลุ่มตามชนบทและไม่สามารถว่ายน้ำได้
พอจะแยกประเภทออกมั้ยคะ ว่าแตกต่างกันอย่างไร  ตัวเราเองก็เคยแยกไม่ออกครับ เคยได้ยินมาหลายต่อหลายปัญหาที่คนไทยนิยมไปปล่อยเต่าที่วัดและได้ปล่อยเต่าบกลงไปในแหล่งน้ำ ซึ่งแน่นอนว่าเต่าคงจะพยายามว่ายขึ้นฝั่งอย่างทุลักทุเล เพราะเต่าบกไม่สามารถว่ายน้ำได้จริงๆครับ คนปล่อยก็คงอยากให้รีบลงน้ำไปก็ยัดเยียดความตายให้เต่าโดยการจับโยนไปไกลๆ ทำให้เต่าหมดโอกาสที่จะตะเกียกตะกายขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ คิดแล้วก็น่าสงสาร แต่ปัญหานี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับเต่าบกเสมอไป กับเต่าน้ำก็เกิดปัญหาการจมน้ำตายได้ ยิ่งในเฉพาะเต่าที่อาศัยบริเวณน้ำตื้นอย่างเช่นเต่านา เต่าดำ ถ้านำไปปล่อยในแหล่งน้ำลึกก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เต่าว่ายน้ำจนหมดแรงแล้วจมน้ำตายอีกเช่นกัน  ควรเลือกปล่อยเต่าในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ห่างไกลชุนชม มีตลิ่งที่ไม่ลาดชันมากเพื่อให้เต่าว่ายขึ้นมาพักผ่อนได้ ในแม่น้ำเจ้าพระยาหรือแม่น้ำสายใหญ่ๆในบ้านเรายิ่งไม่ควรปล่อย ไม่ว่าจะเป็นเต่าสายพันธุ์ไหน เพราะไม่เพียงแต่น้ำที่ลึก แต่กระแสน้ำจะทำให้เต่าไม่สามารถต้านได้และหมดแรงตายไปในที่สุด
เต่าที่เห็นว่าอยู่ในน้ำลึกได้จากการที่ได้เห็นจริงๆตามสวนสาธารณะที่คนนิยมแอบนำไปปล่อยก็เห็นจะมีเต่าบัวหรือเต่าบึงหัวเหลือง เต่าหับและเต่าแก้มแดง (เต่าญี่ปุ่น) เฉพาะตัวหลังสุดไม่นิยมให้ปล่อย เพราะเป็นสัตว์ต่างถิ่น ซึ่งอาจจะมีผลต่อระบบนิเวศน์ของไทยต่อไป 
        ที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า ทำบุญแต่ได้บาป เราทุกคนควรจะช่วยกันหยุดทำบุญแบบนี้เพื่อให้วงจรบาปเหล่านี้ได้หมดไป แบบนี้ถึงจะสามารถช่วยให้เต่าไม่ต้องตกมาเป็นเหยื่อของการทำบุญผิดๆและยังช่วยอนุรักษ์สายพันธุ์เต่าในประเทศให้ดำรงอยู่ต่อไปด้วย
เต่าบกเต่าบก http://www.reptilehiso.com
เรามาทำความรู้จักเต่าบกกันว่าแตกต่างกับเต่านาเต่าบัว เต่าหับที่อาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยกันอย่างไร

ข้อเปรียบเทียบ

เต่าบก

เต่าน้ำ

กระดอง

รูปทรงกระดองส่วนมากมักเป็นโดม นูนสูง ขอบมีความหนา น้ำหนักมากกว่า

กระดองเรียบ รูปทรงค่อนข้างแบน นูนต่ำ ขอบกระดองบาง มีน้ำหนักเบากว่าเต่าบก

ขาและเท้า

ขามีเกร็ดขนาดใหญ่เพื่อใช้ขุดดินและป้องกันตัวเองจากนักล่าในธรรมชาติ

เท้ามีลักษณะกลมและมีเล็บที่แข็งแรงไว้ใช้ขุดดินและฉีกอาหาร

ที่ขาไม่มีเกร็ด มีผิวหนังค่อนข้างยืดหยุ่น

เท้ามีลักษณะแบน มีพังผืดระหว่างนิ้วเพื่อใช้ว่ายน้ำและมีเล็บขนาดเล็ก

อาหาร

โดยมากแล้วพืชเป็นอาหารหลัก บางสายพันธุ์กินเนื้อสัตว์และแมลงเป็นอาหารเสริม

กินสิ่งมีชีวิตเล็กๆในน้ำเป็นอาหารหลัก บางชนิดกินพืชผักในแหล่งน้ำด้วย

พฤติกรรม

อยู่บนพื้นดินตลอดเวลา เวลาเดินจะยกตัวสูงเพื่อไม่ให้ท้องขูดกับพื้นดิน

ใช้เวลาอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่และจะขึ้นมาอาบแดดไม่นาน วิธีเคลื่อนไหวบนพื้นดินจะดูเหมือนคลานมากกว่าเดินเพราะเต่าน้ำจะเคลื่อนที่บนบกได้ไม่คล่องแคล่วนัก